วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

แบบทดสอบเรื่องธาตุและสารประกอบ

ข้อสอบ

  1. สมบัติข้อใดที่ไม่ใช่สมบัติของธาตุทรานซิชัน
  • เวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุทรานซิชันในแต่ละคาบอยู่ในระดับพลังงานเดียวกัน มักจะมีค่าเป็น 1 หรือ 2 เช่นเดียวกับธาตุหมู่ 1 และหมู่ 2
  • มีประจุได้หลายค่า และสารประกอบเชิงซ้อนหลายชนิดมักมีสี
  • เนื่องจากธาตุทรานซิชันอยู่ในตำแหน่งต่อจากธาตุหมู่ 1 และหมู่ 2 ในตารางธาตุจึงย่อมมีจุดหลอมเหลว จุดเดือดต่ำกว่าโลหะหมู่ 1 และหมู่ 2
  • ธาตุทรานซิชันมีสมบัติคล้ายกันตามคาบมากกว่าธาตุอื่นๆในตารางธาตุ
  1. ข้อใดเป็นสมบัติของธาตุแฮโลเจน
  • มีสถานะเป็นแก๊สและเป็นพิษ
  • มีทั้ง 3 สถานะ และเป็นพิษ
  • มี 2 สถานะ คือ ของแข็งและของเหลวและเป็นธาตุที่มีสี
  • มีทั้ง 3 สถานะ มีสี และเป็นพิษ
  1. ธาตุในกลุ่มใดที่ประกอบด้วยธาตุทรานซิชันทั้งหมด
  • Fe Si Sb Rb
  • Fe Al Cu Fr
  • Fe Co Te At
  • Fe Cu Cr Mn
  1. ข้อใดพิสูจน์ได้ว่าโซเดียมคลอไรด์เป็นสารประกอบไอออนิก
  • เมื่อนำโซเดียมคลอไรด์มาละลายน้ำ สารละลายที่ได้มีจุดเยือกแข็งลดลง
  • โซเดียมคลอไรด์เมื่อหลอมเหลวนำไฟฟ้าได้
  • เมื่อโซเดียมคลอไรด์ละลายน้ำแล้วดูดความร้อน
  • ในโมเลกุลของโซเดียมคลอไรด์มีประจุบวกและประจุลบ
  1. เหตุผลเกี่ยวกับสมบัติของธาตุในข้อใดผิด
  • โลหะมีความมันวาว เพราะดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไว้ได้มาก
  • ดลหะดึงเป็นเส็นได้ เพราะระหว่างอนุภาคของอะตอมโลหะยังมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนยึดไว้
  • แกรไฟต์แผ่ให้เป็นแผ่นบางได้ แต่ยืดให้เป็นเส้นไม่ได้เพราะเวเลนซ์อิเล็กตรอนแยกอยู่กันเป็นชั้นๆ
  • อะตอมในโลหะสร้างพันธะโดยใช้เวเลยซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน
  1. สมบัติต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่ สมบัติของโลหะอัลคาไล
  • รับอิเล็กตรอนได้ง่าย
  • เกิดสารประกอบไอออนิกได้ดี
  • นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี
  • ทำปฏิกิริยาเกิดเป็นสารประกอบออกไซด์ คลอไรด์ และซัลไฟด์ได้
  1. ให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ ข้อใดไม่ถูกต้อง
  • พันธะโคเวเลนซ์เป็นพันธะที่เกิดจากการดูดและผลักกันของอิเล็กตรอนและนิวเคลียสของอะตอมคู่ที่สร้างพันธะ
  • พันธะไอออนิก เป็นพันธะที่เกิดจากการดึงดูดระหว่างไอออนที่มีประจุต่างกัน
  • สารประกอบไอออนิก เป็นสารประกอบประเภทไม่มีสูตรโมเลกุล
  • โดยทั่วไป พันธะโคเวเลนซ์เป็นพันธะที่แข็งแกร่งกว่าพันธะไอออนิก
  1. ข้อใดมีธาตุกึ่งโลหะอยู่มากที่สุด
  • Ge e Bi Pb
  • Pb Rn Tl Bi
  • Sb Si Tl Al
  • B Si As Rn
  1. กลุ่มของธาตุในข้อใดที่เป็นโลหะทุกธาตุ
  • ซิลิคอน โซเดียม แคลเซียม
  • แมกนีเซียม แคลเซียม ลิเทียม
  • ฮีเลียม แมกนีเซียม อะลูมิเนียม
  • นีออน โบรอน ซิลิคอน
  1. ข้อสรุปเกี่ยวกับสารประกอบออกไซด์และคลอไรด์ ข้อใดไม่ถูกต้อง
  • สารประกอบออกไซด์ของโลหะมักเป็นของแข็ง มีสมบัติเป็นเบส
  • สารประกอบออกไซด์ของอโลหะ มักเป็นแก๊สและมักมีสมบัติเป็นกรด
  • สารประกอบคลอไรด์ของอโลหะ อาจเป็นแก๊สหรือของเหลวและมักมีสมบัติเป็นกรด
  • สารประกอบคลอไรด์ของโลหะ มักเป็นของแข็ง และมีสมบัติเป็นเบส
  1. อนุภาคในข้อใดที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนนิวตรอน
  • 1123Na+
  • 24He2+
  • 49Be
  • 919F
  1. สัญลักษณ์ของธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอน = 91 จำนวนนิวตรอน = 140 คือข้อใด
  • 14091Pa
  • 91140Pa
  • 91231Pa
  • 23191Pa
  1. ไอโซโทปของธาตุ A มีเลขอะตอม 8 มีเลขมวล 16 ข้อความเกี่ยวกับธาตุ A ข้อใดถูก
  • ธาตุ A คือ ออกซิเจน
  • ธาตุ A มีนิวตรอน 8
  • ธาตุ A มีโปรตอน 8 และอิเล็กตรอน 8
  • ถูกทุกข้อ
  1. การเรียงอะตอมและไอออนในชุดใดที่แสดงจำนวนของอิเล็กตรอนทั้งหมดเท่ากัน
  • Be Mg2+  Ca  K+
  • NaCa2+  Al3+  Si4+
  • Cl Ar  Ca2+  K+
  • N3- O2-  Na  Mg
  1. เกี่ยวกับปฏิกิริยานิวเคลียร์ ข้อใดผิด
  • ปฏิกิริยาฟิวชันเกิดได้เองในธรรมชาติ
  • ปฏิกิริยาฟิวชันปลดปล่อยพลังงานสูงกว่าปฏิกิริยาฟิชชัน
  • ปฏิกิริยาฟิวชันให้ผลิตภัณฑ์ที่มีอันตรายสูงกว่าปฏิกิริยาฟิชชัน
  • เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันต้องใช้พลังงานและอุณหภูมิสุงกว่าปฏิกิริยาฟิชชัน
16. ธาตุฮีเลียม  ปรอท  เหล็ก  เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เรียงลำดับตามข้อใด
  • H, M, I
  • He, Hg, Fe
  • He, Hg, Ir
  • He, Me, Ir
17.  รังสีที่เกิดจากธาตุกัมมันตรังสีที่ทะลุผ่านได้สูงสุด คือข้อใด
  • รังสีบีตา
  • รังสีเอกซ์
  • รังสีแอลฟา
  • รังสีแกมมา
18. การใช้ประโยชน์จากธาตุกัมมันตรังสี ข้อใดไม่ถูกต้อง
  • Ra – 226 การรักษาโรค
  • P – 32 ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช และปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ
  • C-14 หาอายุของซากสิ่งมีชีวิต
  • Co-60 ปฏิกรณ์ปรมาณู
19. จงพิจารณาว่าข้อความใดถูกต้อง
  • รังสีบีตามีประจุไฟฟ้า +1และไม่มีมวล
  • รังสีแอลฟามีประจุไฟฟ้า +2และมีมวลมาก
  • รังสีแกมมาเบนเข้าหาขั้วลบของสนามแม่เหล็ก
  • รังสีบีตามีประจุไฟฟ้า -1 และมีมวลมากกว่ารังสีแอลฟา
20. ด้านการแพทย์ใช้ประโยชน์จาก Ra – 226 ในข้อใด
  • ใช้รักษาโรคมะเร็ง
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • ใช้ตรวจสอบระบบการไหลเวียนของเลือด
  • ใช้ตรวจสอบความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
21.  ธาตุ A เป็นแก๊สไม่มีสี มีจุดหลอมเหลว -445 องศาฟาเรนไฮต์ ธาตุ A จัดเป็นธาตุในกลุ่มใด
  • โลหะ
  • อโลหะ
  • กึ่งโลหะ
  • กัมมันตรังสี
22. สมบัติของธาตุในข้อใด ที่ธาตุกึ่งโลหะ (metalloid)คล้ายธาตุโลหะ
  • นำไฟฟ้าได้
  • เป็นของแข็ง
  • เปราะแตกง่าย
  • มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยามาก
23. ข้อใดต่อไปนี้เป็นธาตุโลหะทุกธาตุ
  • Xe, Zr, Sr, I
  • K, Co, Sb, Br
  • Y, U, Ca, Ra
  • P, O, N, S

แบบทดสอบเรื่อพันธะเคมี

ข้อสอบ เรื่อง พันธะเคมี
1.จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล CH4 , SiCl4 , NaCl , NH3 เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ  คือข้อใด
   ก. 4 , 4 , 0 , 3     ข. 6 , 3 , 1 , 0       ค. 4 , 3 , 0 , 3      ง. 5 , 4 , 1 , 0

2. พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร
    ก. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
    ข. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
    ค. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่
    ง. พันธะที่เกิดจากการใช้์อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวร่วมกัน 1 คู่

3. ธาตุในข้อใด เกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุคลอรีนได้ดีที่สุด

    ก. Na                ข. Ra             ค. C                 ง. Cs
4. สมบัติทางกายภาพในข้อใด ที่ใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของอโลหะ
    ก. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมใหญ่ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    ข. พลังงานไอออไนเซชันต่ำ ขนาดอะตอมใหญ่ อิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ
    ค. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    ง. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง
5. ธาตุ Z มีพลังงานไอออไนเซชันตั้งแต่ลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่ 8 เป็นดังนี้ 1.320, 3.395, 5.307, 7.476, 10.996, 13.333, 71.343, 84.086 ธาตุ Z มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด

    ก. 1                ข. 4                ค. 6                ง. 7

6. ตารางแสดงค่าพลังงานพันธะเฉลี่ยในสารไฮโดรคาร์บอน
ชนิดพันธะ
พลังงานพันธะ
C - H
413
C - C
348
การสลายพันธะโพรเพน (C3H8)  0.5 โมล จะต้องใช้พลังงานมากกว่าหรือน้อยกว่าการสลายพันธะอีเทน (C2H6)  0.5 โมล  เท่าไร
     ก. มากกว่า 587 kJ     ข. น้อยกว่า 283 kJ      ค. มากกว่า 526 kJ     ง. น้อยกว่า 278 kJ

7. เหตุใดสารโคเวเลนต์ จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ
    ก. สารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย       ข. สารโคเวเลนต์มักสลายตัวได้ง่าย
    ค. สารโคเวเลนต์ไม่มีประจุไฟฟ้า                                   ง. สารโคเวเลนต์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก
8. สารละลายที่เกิดจากธาตุหมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร
    ก. เป็นกลาง     ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส      ค. เป็นกรด       ง. เป็นเบส

9. สาร X เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว สาร Y เป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสาร Z เป็นพันธะไม่มีขั้ว ถ้าขนาดของโมเลกุลของ X>Y>Z แล้วสาร X Y และ Z ควรเป็นดังข้อใด

    ก. CH2 , NH3 , C6H6      ข. BeCl2 , CH2Cl2 , S8      ค. Br2 , H2O , H2      ง. SiH4 , PCl3 , PCl5

10. กำหนดค่า EN ของธาตุดังนี้ A = 3.0 , B = 2.8 X= 2.7 , Y = 3.7 จงเรียงลำดับความแรงขั้วจากมากไปน้อย

      ก. A-B , B-X , X-Y     ข. A-Y , B-X , A-X     ค. Y-B , A-Y , A-X     ง. A-X , B-Y , A-Y

11. ถ้า A , B และ C เป็นสารโคเวเลนต์ 3 ชนิด โดยทั้ง 3 ชนิดมีสถานะเป็นของเหลว โมเลกุลของสาร A และ B มีขั้ว ส่วนโมเลกุลของสาร C ไม่มีขั้ว สารใดสามารถละลายน้ำได้

     ก. สาร C       ข. สาร A และ C      ค. สาร A เเละ B       ง. สาร B และ C

12. จงระบุว่าสารในข้อใดละลายน้ำได้
      1) แคลเซียมคลอไรด์                 2) แอมโมเนียมซัลเฟต      3 )เมอร์คิวรี(I)คลอไรด์
      4) ไ อร์ออน(III)ไฮดรอกไซด์       5) โพแทสเซียมฟอสเฟต

    
ก. 1 2 3       ข. 1 2 5      ค. 2 3 4       ง. 2 3 513. ถ้า A, B ,C ,D เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 7,11,17 และ 20 ตามลำดับ สูตรของไอออนและสารประกอบไอออนิกในข้อใดถูกต้อง  

ข้อ
ไอออนบวก
ไอออนลบ
สูตรสารประกอบไอออนิก
D2+
A3-
D3A2
C3+
B2-
C2B3
B+
A-
BA
A+
C-
AC
14. X เป็นสารประกอบของธาตุ Ca และ F มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่นำไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง และละลายน้ำได้น้อยมาก ข้อสรุปใดต่อไปนี้ ไม่ สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น
      ก. พันธะในสาร X เป็นพันธะไอออนิก            
      ข. เมื่อ X ละลายน้ำ จะดูดความร้อน ทำให้ละลายได้น้อย
      ค. X มีสูตร CaF2 ผลึกมีความแข็งแรงมากจึงละลายได้ยาก   
      ง. สาร X เมื่อหลอมเหลวจะนำไฟฟ้า

15. เมื่อละลาย KCl ในน้ำเกิดปฏิกิริยาเป็นขั้น ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ดังนี้
1) KCl(s) -----> K+(g) + Cl-(aq)                H1 = 701.2 kJ/mol
2) K+(g) + Cl-(g) -------> K+(aq) + Cl-(aq)     
 H2 = 684.1 kJ/mol
ปฏิกิริยานี้เป็นแบบใด

    ก. คายพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol           ข. คายพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol
    ค. ดูดพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol               ง. ดูดพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol

16. สาร X , Y , Z มีพลังงานพันธะเป็น 120 , 200 , 90 kJ/mol ตามลำดับ จงเรียงความยาวพันธะจากน้อยไปมาก

      ก. X , Y , Z            ข. Z , Y , X                ค. Y , X , Z              ง. Z , X , Y

17. ข้อใดกล่าว ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก   
      ก.    นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ      ข.   เกิดจากการรวมตัวของไอออนบวกกับไอออนลบ   
      ค.   จัดเรียงตัวเป็นผลึก 
          ง.   มีผลรวมของประจุสุทธิ เป็น ศูนย์


18. พันธะเคมี หมายถึง อะไร    
      ก. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม          ข. พลังงานที่ทำให้อะตอมสลายตัว     
      ค. การอยู่รวมกันของอะตอม              ง. การอยู่รวมกันของโมเลกุล 

19. กำหนดการจัดอิเล็กตรอนของธาตุให้ ดังนี้  A   2,8,2     B   2,8,8,1     C  2,8,7      D  2,8,18, 8   ธาตุคู่ใดมีการเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกได้                                      
      ก.   A  กับ  D          ข.   C  กับ  D         ค.   B  กับ  C           ง.   B  กับ  D
20เพราะเหตุใด อโลหะจึงยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ 
      ก. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนยาก
          ข. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนง่าย 
      ค. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนยาก
          ง. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนง่าย
21. ธาตุที่เกิดพันธะไอออนิกกับออกซิเจนได้ดีที่สุด คือ ข้อใด
      ก. กำมะถัน
       ข. คลอรีน        ค. ดีบุก         ง. โซเดียม
22. ข้อใดต่อไปนี้เป็นสูตรของสารประกอบ เมอร์คูริกซัลไฟด์
      ก. CuCl                          ข. KBr             ค. PbS                           ง. HgS
23. การเกิดสารประกอบ  NaF(s) ข้อใดคือสมการรวมของปฏิกิริยา
      ก. Na(g)  + 1/2F2(g)        ------>            NaF(s)      ข. Na(s)   + 2F2(g)         ------->            NaF(s)       ค. Na(g)   + 1/2F(s)        ------>              NaF(s)       ง. Na(s)   + 1/2F2(g)      ------>              NaF(s)
24. การที่อะตอมพยายามปรับตัวเองให้อยู่ในสภาพเสถียรโดยทำให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดเท่ากับ 8 เรียกกฎนี้ว่าอะไร
        
ก. กฎออกซิเดชั่น           ข. กฎออกเตต           ค. กฎโคเวเลนต์              ง. กฎไอออนิก
  25. ข้อใด ไม่ เกี่ยวข้องกับพันธะเคมี
       ก. รับอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น
            ข. ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 
       ค. แย่งอิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น            ง. ให้อิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น26. ข้อใดกล่าว ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก
      ก. มีผลรวมของประจุสุทธิ เป็น ศูนย์        ข. เกิดจากการรวมตัวของไอออนบวกกับไอออนลบ
      ค.  จัดเรียงตัวเป็นผลึก                          ง. นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ 

27.  การที่โลหะรวมกับอโลหะแล้วโลหะจะให้อิเล็กตรอนแก่อโลหะ  เกิดไอออนบวกและไอออนลบ ดึงดูดกัน  ด้วยแรงดึงดูดไฟฟ้าสถิต  สร้างพันธะไอออนิกขึ้นในสารประกอบนั้น  เพราะเหตุใด
    ก.  โลหะมีขนาดอะตอมเล็กกว่าอโลหะ
  ข.  อโลหะมีขนาดอะตอมใหญ่กว่าโลหะ
  ค.  โลหะมีค่า IE  ต่ำ  จึงให้อิเล็กตรอนได้ง่าย เพื่อปรับเวเลนซ์อิเล็กตรอนแบบก๊าซเฉื่อย
  ง.  โลหะมีค่า IE  สูง  จึงให้อิเล็กตรอนได้ง่าย เพื่อปรับเวเลนซ์อิเล็กตรอนแบบก๊าซเฉื่อย


28. กำหนดให้

1. NaNO3 + KCl     2. NH4Cl + Ca(OH)2       3.  K2SO4 + BaCl2       4.  AgNO3 + KCl
5. Na2SO4 + Pb(NO3)     6.  Na2CO3 + CaCl2 
การผสมสารละลายของสารประกอบไอออนิกคู่ใด ทำให้เกิดตะกอน
    ก.  1 3 4 5     ข.  3 4 5 6     ค.  2 3 4 5         ง.  1 4 5 6
29. สารโคเวเลนต์ชนิดหนึ่งมีสูตร AH3 และรูปร่างโมเลกุลเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ อะตอม A ในสารนี้ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ข้อใดที่น่าจะเป็นสมบัติของสาร AH3 
  ก.โมเลกุลมีขั้ว ละลายน้ำ จุดเดือดต่ำ
  ข.เกิดพันธะไฮโดรเจน จุดเดือดสูง และละลายน้ำได้
  ค.โมเลกุลไม่มีขั้ว และมีแรงแวนเดอร์วาลส์ (ลอนดอน) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
  ง.โมเลกุลไม่มีขั้ว แต่เกิดพันธะไฮโดรเจนได้
30. ตารางข้างล่างนี้แสดงจุดหลอมเหว จุดเดือด และความสามารถในการนำไฟฟ้า เมื่อหลอมเหลวของสารประกอบคลอไรด์ A , B และC
สารประกอบคลอไรด์
จุดหลอมเหลว
จุดเดือด
การนำไฟฟ้า
A
883
1650
ดีมาก
B
1148
2750
ดี
C
548
1005
ไม่ดี
สิ่งที่สรุปได้จากข้อมูลคือ
   ก. A และ B เป็นสารประกอบไอออนิก                ข. A,B และ C เป็นสารประกอบไอออนิก
   ค. A เป็นสารประกอบไอออนิกเพียงสารเดียว      ง. B เป็นสารประกอบไอออนิกเพียงสารเดียว

31. สารใดมีรูปร่างโมเลกุล ไม่ เหมือนกัน


      ก.  HO2 และ SBr2     ข.  NOCl และ COS      ค. HCl และ CS2      ง.  CCl4และ POCl3

32. สารในข้อใด เป็นโมเลกุลมีขั้ว  แต่ ไม่มี พันธะไฮโดรเจน

     ก.  HF                     ข.  NH3                      ค. C2H5OH             ง.  SO2
กำหนด
 พลังงานพันธะ(kJ/mol)   C-C  = 348   C=C  = 614     C-H  =413    C-Cl  = 339    Cl-Cl  = 242
  C=O    = 745   C-O  = 358    O-H   = 463       O=O   = 498   


33. ถ้าไซโคลเฮกซีน(C6H10) เกิดปฏิกิริยาการรวมตัวกับคลอรีนจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานกี่กิโลจูลต่อโมล

      ก. 170                          ข. 340                            ค. 412                ง. 242
34. ในการเผาไหม้โพรทานอล ( C3H7OH ) 1 โมล ได้ผลิตภัณฑ์เป็น แก๊ส CO2  และ H2O (ไอน้ำ) จะดูดหรือคายพลังงาน กี่กิโลจูลต่อโมล     ก. ดูดพลังงาน 1.52 kJ                                  ข.  คายพลังงาน 1,525 kJ
     ค.  ดูดพลังงาน 1,883 kJ                               ง.  คายพลังงาน 1,883 kJ
35. กำหนดให้ ธาตุ A มีพลังงานไอออไนเซชันตั้งแต่ ลำดับที่ 1 ถึง 8 ดังนี้   1.320,3.395, 5.307, 7.476, 10.996, 13.333, 71.343 และ 84.086
ธาตุ B มีพลังงานไอออไนเซชัน ตั้งแต่ลำดับที่ 1 ถึง 4 ดังนี้  800,  2400,  3700 และ 25000
   จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ 
1. สูตรทั่วไปของสารประกอบ AB  คือ A2B3
2. สารประกอบ AB เมื่อละลายในน้ำแล้วเปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน      แต่ไม่เปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
3. สารประกอบ AB มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง
4. สารประกอบ AB ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์และมีลักษณะเป็นของเหลว
ข้อใดถูก 
  

  ก. 1,4                     ข. 2,3  ค.                  ค. เฉพาะ 3                ง. เฉพาะ 4
36. ข้อมูลแสดงค่าพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการละลายสาร A, B, และ C เป็นดังนี้
สาร
พลังงานไฮเดรชัน
พลังงานแลตทิซ
A
745
750
B
590
550
C
690
700
ถ้าใช้สาร A, B และ C  จำนวนโมลเท่ากัน  ละลายในน้ำที่มีปริมาตร 100 cm3  การเปรียบเทียบอุณหภูมิของแต่ละสารละลาย ข้อใดถูก
            ก. A > B > C             ข. B > A > C             ค. B > C > A             ง. C > A > B

37. กำหนดให้  พลังงานแลตทิชของ NaCl   = 787 kJ/mol      พลังงานไอออไนเซชั่นของ Na(g) =  494 kJ/mol

          พลังงานของ Cl2(g)  =  242  kJ/mol           พลังงานสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของ Cl(g) =  347 kJ/mol
          พลังงานการระเหิดของ Na(s)  = 109  kJ/mol
ปฏิกิริยา  Na(s) + 1/2Cl   ------>   NaCl(s)    ที่ 25 C   คายพลังงานความร้อนจำนวนเท่าใด

         ก. 410 kJ               ข.  531 kJ                   ค. 724 kJ                ง.  1134 kJ

38. 38Sr ทำปฎิกิริยากับ 16S สารประกอบที่ได้ควรมีสูตรอย่างไร       

          ก. SrS3                   ข. Sr2S3                  ค. SrS                   ง. Sr3S3

39. สูตรโครงสร้างลิวอิสตามกฏออกเตตของโมเลกุลและไอออนต่อไปนี้ ข้อใดไม่มีขั้ว

          
ก.  OF2                   ข.  FNO                   ค. CO                   ง.  OCS
40. อะตอมของธาตุใดที่อยู่ในสภาพที่เสถียร 

      ก. ฮีเลียม                     ข. ไนโตรเจน              ค. ไฮโดรเจน            ง. อาร์ซินิก

41. ข้อความใดต่อไปนี้ ไม่ ถูกต้อง

      ก. พันธะโคเวเลนต์เป็นพันธะที่เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนเป็นคู่ๆ
      ข. พันธะไอออนิกเป็นแรงดึงดูดระหว่างไอออนที่มีประจุต่างกัน
      ค. พันธะโลหะเป็นพันธะที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างอะตอมของโลหะกับอิเล็กตรอนทั้งหมดที่มีอยู่ในโลหะ
      ง. พันธะไอออนิก ทำให้สารไอออนิกไม่มีสูตรโมเลกุลและมีจุดหลอมเหลวสูง

42. อะตอมที่ให้หรือรับอิเล็คตรอน จะเกิดเป็นพันธะใด
      ก. พันธะเคมี         ข. พันธะไอออนิก         ค. พันธะโคเวเลนต์        ง. พันธะโลหะ
43. ประเภทของพันธะหรือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคในสารต่อไปนี้ เหล็ก, น้ำตาลกลูโคส, เกลือแกง ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการเรียงลำดับอย่างถูกต้อง
      ก. พันธะโลหะ , พันธะโคเวเลนต์, แรงลอนดอน        ข. แรงลอนดอน, พันธะไอออนิก, พันธะโคเวเลนต์
      ค. พันธะไอออนิก, พันธะโคเวเลนต์, พันธะโลหะ       ง. พันธะโลหะ, แรงลอนดอน, พันธะไอออนิก
44. ข้อใดต่อไปนี้ผิด
       ก. สารประกอบไอออนิกมักเกิดระหว่างธาตุที่มีพลังงานไอออไนเชชันต่ำกับธาตุที่มีค่าENสูง
       ข. เมื่อหลอมเหลวสารประกอบไอออนิกจะเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
       ค. การเกิดสารประกอบไอออนิกเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
       ง. สารประกอบไอออนิกยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงทางไฟฟ้า
45. ข้อใด ไม่ใช่ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล

      ก. แรงแวนเดอร์วาลส์         ข. แรงดึงดูดระหว่างขั้ว      ค. พันธะไฮโดรเจน        ง. พันธะโคเวเลนต์
46. พิสูจน์ใดที่เเสดงว่าผลึกโซเดียมคลอไรด์เป็นสารประกอบไอออนิก

อนิก
      ก. ผลึกโซเดียมคลอไรด์ละลายน้ำ สารละลายที่ได้จะมีจุดเยือกเเข็งลดลง 
      ข. โซเดียมคลอไรด์ที่หลอมเหลวนำไฟฟ้าได้
      ค. โซเดียมคลอไรด์ละลายน้ำเเล้วคายพลังงาน
      ง. โซเดียมคลอไรด์ละลายน้ำนำไฟฟ้าได้
47. รูปร่างโมเลกุลของสารในข้อใดเป็นรูปสามเหลี่ยมแบนราบ
      ก. NH4+ และ SiH4        ข. SO3 และ BF3        ค. CH3Cl และ O3         ง. PH3 และ CH2O
48. ธาตุ A และ B มีเลขอะตอม 15 และ 35 ตามลำดับ คลอไรด์ของ A และ B ควรมีรูปร่างอย่างไร   ตามลำดับ

      ก.   สามเหลี่ยมแบนราบ และพีระมิดฐานสามเหลี่ยม     ข.   พีระมิดฐานสามเหลี่ยม และเส้นตรง
      ค.   ทรงสี่หน้า และสามเหลี่ยมแบนราบ                      ง.   พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม และเส้นตรง

49. มุมระหว่างพันธะในโมเลกุลโคเวเลนต์เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังข้อใด
            
      ก. CS2 > BF3 > CH4 > Cl2O           ข. Cl2O > CS2 > BF3 > CH4
      ค. BF3 > CS2 > Cl2O > CH           ง. CS2 > Cl2O > BF3 > CH4


50. ข้อใดเป็นโมเลกุล ไม่มีขั้ว
      ก. CO2, CCl4 และ CH3Cl              ข. CO2, SF6 และ BCl3
      ค. BCl3, NCl3 และ CCl4                ง. HCN, NCl3 และ CO2

แบบทดสอบเรื่อแบบจำลองอะตอมและตารางธาตุ

แบบทดสอบชุดที่ 1
เรื่อง แบบจำลองอะตอมของดอลตัน ทอมสัน และรัทเทอร์ฟอร์ด
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ข้อสอบแต่ละข้อสามารถคลิกคำตอบได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
1.  แก๊สนำไฟฟ้าได้ดีในสภาวะใด
    ก.  ความดันสูง  ความต่างศักย์ต่ำ
    ข.  ความดันสูง  ความต่างศักย์สูง
    ค.  ความดันต่ำ  ความต่างศักย์สูง
    ง.  ความดันต่ำ  ความต่างศักย์ต่ำ
2. ข้อใดไม่ใช่แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
    ก.  อะตอมมีขนาดเล็กแบ่งแยกไม่ได้
    ข.  อะตอมของธาตุต่างชนิดมีมวลนิวตรอนเท่ากันได้
    ค.  อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน
    ง.  
    ธาตุทำปฏิกิริยาด้วยอัตราส่วนเลขลงตัวน้อย 
     
3. รังสีแคโทดเกิดจากส่วนใด
    ก.  ขั้วแคโทด
    ข.  แก๊สที่บรรจุภายใน
    ค.  ขั้วแคโทด  และแก๊สที่บรรจุภายใน
    ง.  
    ขั้วแคโทด  ขั้วแอโนดและแก๊ส
     
4. ข้อใดเป็นแบบจำลองอะตอมของทอมสัน
ก.  
ข.  
ค.  
ง.  
     
5. แบบจำลองอะตอมของทอมสันและแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดต่างกันอย่างไร
    ก.  ชนิดของอนุภาคในอะตอม
    ข.  ตำแหน่งของอนุภาคในอะตอม
    ค.  จำนวนอนุภาคในอะตอม
    ง.  
    ขนาดอนุภาคในอะตอม
     
6. จากการทดลองของโกลด์สไตน์  ทำให้ทราบได้ว่า
    ก.  รังสีบวกเกิดจากแก๊สที่บรรจุภายใน
    ข.  รังสีบวกไม่มีประจุไม่มีมวล
    ค.  รังสีบวกมีมวลเท่ากันเสมอ
    ง.  
    รังสีบวกมีอัตราส่วนประจุคงที่
     
7. เราทราบมวลอิเล็กตรอนจาการทดลองของใคร
    ก.  ทอมสัน
    ข.  มิลลิแกน
    ค.  รัทเทอร์ฟอร์ด
    ง.  
    ทอมสันและมิลลิแกน
     
8. อิเล็กตรอน  5  กรัม  มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่าใด
    ก.  7.5 x 1028ข.  1.6 x 1028ค.  5.5 x  10 27
    ง.  
    5.5 x 1028
     
9. อิเล็กตรอนมี e/m  เท่าใด
    ก.  1.6 x 10–19  e/g
    ข.  1.76 x 108  e/g
    ค.  9.11 x 10–28  e/g
    ง.  
    1.675 x 109 e/g
     
10. อิเล็กตรอน  2.1x1021  อิเล็กตรอนมีมวลเท่าใด
    ก.1.8 x 10–5
    ข.
    1.9 3x10–6
    ค.
    2.8 x 10–5
    ง.
    1.9 x 10–6

แบบทดสอบเรื่องธาตุและสารประกอบ

ข้อสอบ สมบัติข้อใดที่ไม่ใช่สมบัติของธาตุทรานซิชัน เวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุทรานซิชันในแต่ละคาบอยู่ในระดับพลังงานเดียวกัน มักจะมีค่าเป็...